LA0032
ยังมีเมืองใหญ่กว้างเรียกว่าเมือง “ทวารวดี” ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งริมนํ้าเป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมี “พระเจ้าทาวราวดี” เป็นผู้ปกครองเมือง ซึ่งหลายปีผ่านไปพระมเหสีของพระองค์ได้ทรงตั้งครรภ์ และได้ประสูติพระโอรส พระราชาได้มีรับสั่งให้โหรหลวงมาทายทักตรวจดูดวงชะตาของพระโอรส และโหรหลวงได้กราบทูลทํานายไว้ว่า พระโอรสพระองค์นี้จะมีความสะดวกสบายแต่เมื่ออายุ 15 ชันษาจะได้สืบราชสมบัติครองเมืองแทนพระราชาองค์ปัจจุบัน แต่หากติดตรงที่พระโอรสพระองค์นี้ดื้อ จึงควรหาเด็กมาเลี้ยงควบคู่กับพระโอรสไปด้วยเพื่อแก้เคล็ด ทําให้พระราชามีพระราชโองการสั่งหาเด็กมาเลี้ยงคู่กับพระโอรส และเด็กชายคนนั้นก็คือ “ท้าวคํา” หรือนั้นก็คือ "เซียงเมี่ยง" นั้นเอง แต่ด้วยเนื่องว่าในวังตอนนั้นยังมีแม่นมไม่พอ ข้าราชบริพารท่านหนึ่งจึงอาสาเอาพระราชบุตรบุญธรรมไปเลี้ยงแทน จนมีอายุครบ 7 ปี จึงนําเอาท้าวคําไปถวายคืนให้พระราชา หลังจากนั้นท้าวคําก็ได้เจริญเติบโตเคียงคู่กับพระโอรส จนได้ถึงคราที่พระโอรสจะขึ้นครองบ้านครองเมือง แล้วก็พระราชาก็ทรงสั่งให้ "ท้าวคํา" เอ็นดูพระราชาองค์ใหม่เป็นดั่งน้อง ท้าวคําได้มีโอกาสได้บวชเรียนในวัดหลวง ซึ่งมีสมภาร 3 องค์คิดจะมีสติปัญญาฉลาดหลักแหลม ด้วยการทำพิธีกรรมปลุกเสกอ้อย โดยที่สมภารได้คิดจะหลอกใช้ให้เณรคําไปถืออ้อยไปให้ถึงป่าช้า เพื่อทําพิธีปลุกเสกในตอนกลางคืนหลังปลุกเสกเสร็จแล้ว สมภารก็ออกอุบายให้เณรคําเป็นผู้เฝ้าอ้อยที่ปลุกเสก เพราะต้องทิ้งไว้ให้ถึงเช้ากว่าจะได้ผล ด้วยกลอุบายของสมภารทําให้เณรคําต้องอยู่เฝ้ารอจนรุ่งสาง และนำอ้อยไปไว้หลังกุฏิ พอเณรคําหลับสนิทด้วยความง่วง สมภารทั้งสามองค์ก็มากินอ้อยทั้งหมด โดยที่เหลือไว้แค่ข้อกับชานอ้อยเท่านั้น และเมื่อเณรคําตื่นขึ้นมาเห็นว่าเหลือแค่ข้ออ้อยและชานอ้อย เณรคําก็นึกแค้นใจแต่อย่างไรก็ต้องกินด้วยความหิว หลังจากนั้นสามวัน ผลของการกินข้อและชานอ้อยส่งผลให้เณรคํามีปัญญาที่เฉลียวฉลาด โดยที่เณรคําได้ประลองทายปัญญากับสมภาร ผลเณรคําเป็นฝ่ายชนะ โดยที่สมภารไม่รู้เลยว่า "พลังของการปลุกเสกอ้อยครั้งนั้น ผลมันอยู่ที่ข้อของอ้อยที่ปลุกเสก" ในวันหนึ่งมี พ่อค้าเมี่ยงต้องการข้ามคลองหน้าวัด และได้สนทนากับเณรคํา ถามว่าคลองนี้สามารถข้ามได้ไหม แล้วเณรก็บอกไปว่า ถ้าข้ามได้ก็ข้าม ถ้าข้ามไม่ได้ล่ะ ทําให้พ่อค้าเกิดความคิดอยากพนันกับเณรคําว่า หากพ่อค้าข้ามคลองไปได้จะขอให้เณรเปลื้องจีวรที่สวมใส่อยู่ แต่หากพ่อค้าข้ามไปไม่ได้พ่อค้าต้องเสียเมี่ยงให้แก่เณร และแล้วพ่อค้าได้มายังอีกฝั่งจนได้ แต่เณรก็ไม่ได้ถอดจีวรที่สวมใสให้ เพราะบอกว่าพ่อค้าว่ายนํ้ามาไม่ได้ข้ามลําคลองนี้มา จนเกิดเหตุถกเถียงกัน แล้วเรื่องได้ล่วงรู้ถึงพระราชาทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า พ่อค้าเมี่ยงผิดจริงตามที่เณรคําบอก จึงบอกว่าให้พ่อค้ายกเมี่ยงให้แก่เณร แล้วเณรคําก็พูดว่า เอาเมี่ยงมาแค่ สี่ซ้าห้าบาทก็พอแล้ว (ในที่นี้คือ สี่ตะกร้า และ ห้าบาตรพระ) ซึ่งความนี้รู้แก่พระราชา ทําให้พระราชาจับเณรคําสึกออกมาโดยทันที โดยบอกว่า "การกระทําอย่างนี้มันเกินไปโดยไม่ใช่วิสัยของพระเณรที่จะทํากัน" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คนก็เรียก เณรคํา ว่า “เซียงเมี่ยง” หลังจากที่เซียงเมี่ยงสึกจากบวชเรียนนั้น เขาก็ไม่ได้หายหน้าหายตาไปไหน เขายังคงเป็นข้าราชบริพารรับใช้ราชสํานักอยู่นั้นเอง และมีเรื่องราวฉลาดแกมโกง ใช้ปัญญาเอาชนะผู้อื่น โดยตลอดป็นเรื่องเล่ามายาวนานนั่นเอง
คนเจ้าปัญญา, ฉลาดแกมโกง
ท้าวคำ, เซี่ยงเมี่ยง
คนฉลาดแกมโกง
LA
TH
Website
TEXT
www.isangate.com
นิทานมุขตลก